วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

เพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน


เพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน
                            ปัจจุบันพบว่า  สตรีวัยรุ่นร้อยละ 2.4 - 4 และสตรีวัยผู้ใหญ่ร้อยละ 25 - 30 มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน    ซึ่งในกลุ่มวัยผู้ใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาดี  รายได้ดี  และไม่รังเกียจความสกปรกของเลือดประจำเดือน    และยังเชื่อว่าเลือดมีส่วนช่วยหล่อลื่นขณะมีเพศสัมพันธ์    และช่วยคุมกำเนิดไปในตัวด้วย    ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้หญิงอีกจำนวนมากที่คิดว่าพฤติกรรมดังกล่าวเป็นสิ่งต้องห้ามและน่ารังเกียจ

             สาเหตุที่ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการมีประจำเดือนนั้น     เนื่องจากในช่วงที่มีประจำเดือนภูมิต้านทานร่างกายจะต่ำลงทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อ    หากมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างนั้นโอกาสเสี่ยงที่จะติดโรคทางเพศสัมพันธ์   เช่น   หนองใน   พยาธิในช่องคลอด   หูดหงอนไก่   จะมีสูงเพิ่มขึ้นถึง เท่า    เนื่องจากปากมดลูกจะเปิดออก    ทำให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่โพรงมดลูกได้ง่ายขึ้น    นอกจากนี้ธาตุเหล็กที่อยู่ในเลือดประจำเดือนก็จะส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อหนองในได้เป็นอย่างดี    และการที่เยื่อบุโพรงมดลูกลอกหลุดนี่เองที่ทำให้เชื้อสามารถเข้าสู่กระแสเลือดได้มากขึ้น   เกิดการติดเชื้อลุกลามได้ง่าย    โดยจะสามารถเกิดการอักเสบได้จนถึงภายหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 1 - 2 สัปดาห์    และที่ต้องระวังเป็นอย่างมากคือการติดเชื้อเอชไอวี

                              โดยปกติหากมีเพศสัมพันธ์กัน  ฝ่ายหญิงมีโอกาสติดเชื้อจากฝ่ายชาย 10 ใน 10,000 ครั้งของการมีเพศสัมพันธ์    ขณะที่ฝ่ายชายจะติดจากฝ่ายหญิง ใน 10,000  ครั้งของการมีเพศสัมพันธ์    แต่ถ้ามีเลือดและสารคัดหลั่งออกมาในช่วงมีประจำเดือนอัตราการติดเชื้อเอชไอวีอาจจะเพิ่มสูงขึ้นทั้งฝ่ายชายและหญิง      
        

                                ดังนั้น    คุณผู้ชายทั้งหลายควรสนใจและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้    เพราะนอกจากเชื้อเอชไอวีแล้วยังมีเชื้อเริมซึ่งตามปกติก็ติดต่อง่ายอยู่แล้ว   แต่ในช่วงมีประจำเดือนพบว่าโรคเริมกลับมาเป็นซ้ำมากกว่าเดิมทำให้แพร่เชื้อได้มากขึ้น    และทำให้เกิดอาการแสบร้อนจนรำคาญ    และพลอยให้หมดความรู้สึก    ไม่อยากมีเพศสัมพันธ์    ซึ่งถ้าหลีกเลี่ยงได้ในช่วงนี้ก็ควรจะทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น